รีวิวยาลดน้ำหนัก ที่ US FDA อนุมัติ 2023

FDA Approved Anti-Obesity Medications 2023

ozempic saxenda wegovy mounjaro trulicity

ยาลดน้ำหนักที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ ข้อมูลปี 2023

  1. Semaglutide ขนาด 2.4 มิลลิกรัม เป็นฮอร์โมน GLP-1 agonists ซึ่งออกฤทธิ์ให้ลดความอยากอาหาร ทำให้อิ่มไวขึ้น สามารถลดน้ำหนักได้ถึงร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับการควบคุมอาหารโดยไม่ใช้ยา ยาจะอยู่ในรูปแบบของปากกาใช้ฉีดสัปดาห์ละครั้ง ที่ชั้นใต้ไขมันเช่น หน้าท้อง ต้นแขน หรือต้นขา ควรปรับขนาดยาทุก 4 สัปดาห์หรือ 1 เดือน ยา Semaglutide ขนาด 2.4 มิลลิกรัม ยังไม่มีในประเทศไทย แต่สามารถใช้ยา Semaglutide ขนาด 1.0 มิลลิกรัม ทดแทนได้โดยปรับขนาดยาหรือโดส ตามคำแนะนำของแพทย์ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง เป็นต้น
  2. Liraglutide ขนาด 3.0 มิลลิกรัม เป็นฮอร์โมน GLP-1 agonists เหมือนกับยา Semaglutide แต่ต้องฉีดที่ชั้นใต้ผิวหนังทุกวัน ข้อดีคือสามารถปรับขนาดยาได้ไวกว่า Semaglutide เพราะปรับขนาดยาทุกสัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามขนาดยา Liraglutide ขนาด 3.0 มิลลิกรัม ควรปรับภายใต้คำแนะนำของแพทย์ สามารถลดน้ำหนักได้ร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับการควบคุมอาหารโดยไม่ใช้ยา
  3. Setmelanotid เป็นยาในกลุ่ม Melanocortin-4-receptor agonist ซึ่งช่วยลดความอยากอาหารแต่ยาตัวนี้จะใช้เฉพาะกับผู้ป่วยอ้วนอายุ 6 ปีขึ้นไปที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม pro-opiomelanocortin (POMC) deficiency, proprotein subtilisin/kexin type 1 (PCSK1) deficiency หรือ leptin receptor (LEPR) deficiency เท่านั้น
  4. Orlistat เป็นยารับประทาน ช่วยลดการดูดซึมของอาหารประเภทไขมันถึงร้อยละ 30 สามารถลดน้ำหนักได้ร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับการควบคุมอาหารโดยไม่ใช้ยา ข้อดีคือยาตัวนี้จะไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกายจึงค่อนข้างปลอดภัย แต่มักพบอาการท้องอืด ผายลมบ่อย อุจจาระมีมันลอย 
  5. Phentermine-topiramate ออกฤทธิ์โดย sympathomimetic และ carbonic anhydrase inhibitor จะออกฤทธิ์ช่วยควบคุมความอยากอาหารและลดการกินจุบจิบ (Binge eating) ยา Phentermine-topiramate ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย แต่สามารถใช้ phentermine ร่วมกับ topiramate แบบแยกเม็ดร่วมกันได้ สามารถลดน้ำหนักได้ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับการควบคุมอาหารโดยไม่ใช้ยา แต่เนื่องจากการใช้ยาทั้ง 2 ตัวนี้มีผลข้างเคียงมากและมีฤทธิ์เสพติด จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ในการใช้ยากลุ่มนี้เพื่อลดน้ำหนัก 
  6. Bupropion-naltrexone ออกฤทธิ์โดย dopamine/norepinephrine reuptake inhibitor และ mu-opioid receptor antagonist ยาชนิดนี้ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย
  7. Phentermine ยาชนิดนี้ออกฤทธิ์โดย sympathomimetic ช่วยควบคุมความอยากอาหารและลดการกินจุบจิบ อยู่ในรูปแบบยารับประทาน แต่ยา Phentermine อนุญาตให้ใช้ในการลดน้ำหนักระยะสั้นคือประมาณ 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือน สามารถลดน้ำหนักได้ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับการควบคุมอาหารโดยไม่ใช้ยา

แม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนายาลดน้ำหนักให้ใช้ง่าย ประสิทธิภาพดีขึ้นและมีผลข้างเคียงที่ลดลง แต่ยังต้องควบคุมอาหาร ปรับพฤติกรรมการบริโภคและออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพราะหากเราหยุดยาลดน้ำหนักไปแล้วน้ำหนักที่ลดไปอาจกลับขึ้นมา และยาลดน้ำหนักที่ปลอดภัยในวันนี้ ก็อาจพบว่ามีข้อเสียหรือไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ในอนาคดได้เช่น ยา Sibutramine (ปีที่มีการใช้ 1997-2010) ที่ถูกถอนออกไปเนื่องจากปัญหาเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือด และ Lorcaserin (ปีที่มีการใช้ 2012-2020) ยกเลิกการใช้เนื่องจากเพิ่มการเกิดมะเร็ง ดังนั้นการใช้ยาลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทาง

สำหรับ Tirzepatide ยาลดน้ำหนักตัวใหม่กำลังศึกษาวิจัยในการลดน้ำหนัก และคาดว่าจะเข้าประเทศไทยในไม่ช้า สำหรับยาอื่นเช่น Dulaglutide และ semaglutide แบบรับประทาน ยังไม่สามารถนำมาเป็นยาลดน้ำหนักได้ในปัจจุบัน

เรียบเรียงโดย Medecent Clinic

line ID: @paf4857g

Ozempic Saxenda Mounjaro Trulicity

อ้างอิง

Chamberlin, S., & Dabbs, W. (2019). Semaglutide (Ozempic) for type 2 diabetes mellitus. American Family Physician100(2), 116-117. Ozempic

Sorli, C., Shin-ichi, H., & Tsoukas, G. (2016). Brand Name: Ozempic. Diabetes375(19), 1834-1844. Ozempic

Kavinilavu, L. (2022). Mounjaro (Tirzepatide): A Review. Research & Review: Management of Cardiovascular and Orthopedic Complications (e-ISSN: 2582-5739), 24-27. Mounjaro

Bald, E., & Raber, H. (2023). Semaglutide (Wegovy) for the Treatment of Obesity. American Family Physician107(1), 90-91. Wegovy

Lambert, L. (2021). Focus on Saxenda® solution for injection. Journal of Endocrinology, Metabolism and Diabetes of South Africa26(1), 8-10. Saxenda

Smith, L. L., Mosley, J. F., Parke, C., Brown, J., Barris, L. S., & Phan, L. D. (2016). Dulaglutide (Trulicity): the third once-weekly GLP-1 agonist. Pharmacy and Therapeutics41(6), 357. Trulicity

Leave a comment

Design a site like this with WordPress.com
Get started